Wednesday, March 27, 2024

HOURS OF OURS (2023, Komtouch Napattaloong, documentary, A+30)

 

HOURS OF OURS (2023, Komtouch Napattaloong, documentary, A+30)

 

1.ตอนแรกที่เราได้เห็นเรื่องย่อของหนังเรื่องนี้ เราก็นึกไปถึง Facebook ของคุณ Sakda Kaewbuadee ที่มักจะเล่าเรื่องของผู้อพยพลี้ภัยจากประเทศต่าง ๆ ที่มาติดแหง็กอยู่ในไทยและประสบปัญหาต่าง ๆ มากมายเพราะกฎหมายของไทย แล้วเราก็สงสัยว่าหนังเรื่องนี้จะให้อะไรเราได้มากกว่าสิ่งที่เราเคยรู้ ๆ มาแล้วจาก Facebook ของคุณ Sakda ไหม

 

ซึ่งก็ปรากฏว่า ในด้าน “ข้อมูล” นั้น หนังเรื่องนี้แทบไม่ได้ให้อะไรเรามากไปกว่าสิ่งที่เรารู้ ๆ มาแล้วจากคุณ Sakda แต่เราก็ชอบหนังเรื่องนี้สุดๆ เพราะเราว่ามันใช้ประโยชน์จาก “ความเป็นภาพยนตร์” ได้ดีมาก ๆ ในแบบนึงน่ะ นั่นคือมันไม่จำเป็นต้องเน้นการให้ข้อมูลก็ได้ เพราะการให้ข้อมูลสามารถทำได้ในรูปแบบ “ตัวหนังสือ” หรือในรูปแบบ “การเขียน” ผ่านทางสื่อต่าง ๆ อย่างเช่น Facebook อยู่แล้ว ถ้าหากเราอยากรู้ “ข้อมูล” เราทำมันผ่านทาง “การอ่าน” ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายทางอินเทอร์เน็ตก็ได้

 

เราประทับใจหนังเรื่องนี้ เพราะถึงแม้มันไม่ได้ให้ข้อมูลมากนักเกี่ยวกับตัว subjects และถึงแม้ตัว subjects ไม่ได้เปิดใจพูดคุยต่อหน้ากล้องมากนัก (ซึ่งก็คงเป็นเพราะอุปสรรคด้านภาษาด้วยส่วนหนึ่ง) แต่เราว่าหนังมันพาเราไปสัมผัส space and time เดียวกับตัว subjects ได้มากพอสมควรน่ะ โดยเฉพาะในแง่ space คือพอเราได้เห็น “สภาพแวดล้อม” ของพวกเขา และการใช้ชีวิตในแต่ละวันของพวกเขาท่ามกลางสภาพแวดล้อมเหล่านั้น มันก็เหมือนทำให้เราได้ experience อะไรบางอย่างในแบบที่ “ตัวหนังสือ” อาจจะทำได้ยากน่ะ เราก็เลยรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้มันใช้ประโยชน์จากความเป็น “ภาพยนตร์” ได้ดี มันทำให้เราสัมผัสได้ถึง “สภาพห้องที่พวกเขาอยู่”, สภาพตึก, สนาม, สิ่งแวดล้อมรายรอบต่าง ๆ และสัมผัสได้ถึงชีวิตประจำวันของพวกเขา ซึ่งถ้าหากมันถูกถ่ายทอดเป็น “ตัวหนังสือ” บางทีเราก็อาจจะอ่านมันผ่านไปอย่างรวดเร็ว และไม่ทันได้ “รู้สึก” อย่างแท้จริงไปกับประโยคเหล่านั้น หรือไม่ทันได้จินตนาการอย่างจริง ๆ จังๆ ไปกับคำแต่ละคำในประโยค แต่พอมันเป็น “ภาพยนตร์” ที่ให้เราได้เห็น “ภาพ”, ได้เห็น “การเคลื่อนไหวของ subjects” และได้เห็น subjects ใช้เวลาอยู่ในสถานที่นั้น ๆ โดยที่เราไม่สามารถเร่งสปีดภาพให้ผ่านไปอย่างรวดเร็วแบบการอ่านหนังสือเร็ว ๆ ได้ เราก็เลยได้ใช้เวลาอยู่กับ subjects และรู้สึกสัมผัสได้ถึง space ในชีวิตประจำวันของพวกเขาจริง ๆ

 

เราก็เลยประทับใจหนังเรื่องนี้ในแง่นี้มาก ๆ เหมือนหนังมันใช้ประโยชน์จาก “ศักยภาพของภาพยนตร์” ได้ดี และจุดนี้มันช่วยกลบจุดอ่อนของหนังในแง่ที่ว่า หนังมันไม่ได้ให้ข้อมูลมากนักเกี่ยวกับตัว subjects และในแง่ที่ว่า ตัว subjects เองก็ไม่ได้พูดคุยแบบเปิดเผยมากนัก

 

2.อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้นะ แต่เราคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าหากเราจะฉายหนังเรื่องนี้ควบกับหนังเรื่องไหน เราก็อาจจะฉายมันควบกับ DELPHINE’S PRAYERS (2021, Rosine Mbakam, Belgium/Cameroon, documentary, 90min, A+30) และ LES ARRIVANTS (2009, Claudine Borries, Patrice Chagnard, France, documentary, A+30) เพราะหนัง 3 เรื่องนี้พูดถึงผู้อพยพเหมือนกัน แต่มีจุดเด่นไม่ซ้ำกันเลย มันก็เลยเหมือนกับว่า หนัง 3 เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า การทำหนังเกี่ยวกับประเด็นเดียวกัน สามารถทำออกมาให้ดีมาก ๆ ได้ในรูปแบบที่หลากหลายไม่ซ้ำกัน

 

โดย DELPHINE’S PRAYERS นั้น เป็นหนังที่ตัว subject แค่พูดต่อหน้ากล้องไปเรื่อย ๆ ตลอด 90 นาที แต่นั่นก็คือหนักที่สุดในชีวิตแล้ว เพราะตัว subject เล่าอย่างหมดเปลือกถึงชีวิตของเธอ โดยเฉพาะเรื่องที่เธอถูกข่มขืนจนตั้งครรภ์ ซึ่งหนังแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยการที่ตัว subject มีพื้นฐานเป็นคนกล้าพูดอยู่แล้ว และตัว subject กับตัวผู้กำกับน่าจะสนิทกันพอสมควร เพราะทั้งสองเป็นผู้หญิงผิวดำจาก Cameroon เหมือนกัน สื่อสารภาษาเดียวกันได้ เติบโตมากับวัฒนธรรมเดียวกัน เราก็เลยรู้สึกว่า DELPHINE’S PRAYERS นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของหนังสารคดีประเภทที่ “ผู้กำกับกับ subject สนิทกัน” ตัว subject ก็เลยกล้าพูดทุกอย่าง และหนังก็ไม่ต้องทำอะไรมาก แค่ให้ตัว subject พูดไปเรื่อย ๆ ตลอด 90 นาที แค่นี้มันก็ทรงพลังที่สุดในชีวิตแล้ว

 

ส่วน LES ARRIVANTS นั้น เน้นตีแผ่ “ตัวระบบกฎหมายและระบบราชการ” ที่ดูแลเรื่องผู้อพยพลี้ภัย โดยหนังเน้นถ่ายทำห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้ขณะที่เจ้าหน้าที่พูดคุยกับผู้อพยพลี้ภัยรายต่าง ๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่บางคนก็ใจร้าย เจ้าหน้าที่บางคนก็ใจดี ซึ่งเราว่าหนังแบบนี้มันเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัย “ประเทศที่มีระบบกฎหมายที่โปร่งใสและเป็นธรรมมากพอสมควร และเจ้าหน้าที่ทำงานอย่างโปร่งใส” เขาถึงอนุญาตให้ถ่ายทอดการทำงานของเจ้าหน้าที่ออกมาเป็นหนังสารคดีได้น่ะ ซึ่งสิ่งนี้อาจจะทำไม่ได้ในประเทศไทย

 

เราก็เลยรู้สึกว่า หนังสองเรื่องนี้เป็นหนังเกี่ยวกับผู้อพยพที่ดีมาก ๆ และมีจุดแข็งจุดเด่นที่แตกต่างไปจาก HOURS OF OURS แต่ HOURS OF OURS ก็สามารถใช้ประโยชน์จากความเป็นภาพยนตร์ได้ดีมาก ๆ และสร้างจุดเด่นข้อดีของตนเองในแบบที่แตกต่างจากหนังเรื่องอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน

-------

เพิ่มเติมรายชื่อหนังที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน แล้วออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกันโดยบังเอิญ

 

69. MOON MAN (2022, Zhang Chiyu, China)

+ THE MOON (2023, Kim Yong-hwa, South Korea)

 

หนังสองเรื่องนี้พูดถึงชายหนุ่มที่ต้องกระเสือกกระสนเอาตัวรอดตามลำพังบนดวงจันทร์เหมือนกัน แต่เราว่า THE MOON ดีกว่า MOON MAN หลายร้อยเท่า 555

 

70. TALK TO ME (2022, Danny Philippou, Michael Philippou, Australia, A+30)

+ BAGHEAD (2023, Alberto Corredor, Germany/UK)

 

เพราะหนังสองเรื่องนี้เป็นหนังสยองขวัญที่พูดถึง “การทรงเจ้าเข้าผี” ซึ่งการทรงเจ้าเข้าผีจะไม่เกิดอันตราย ถ้าหากทำภายในกรอบเวลาอันจำกัดที่กำหนดไว้ อย่างเช่น ทำภายใน 2 นาที แต่ถ้าหากทำนานเกิน 2 นาที จะเกิดอันตรายร้ายแรงตามมา หรือถ้าหากเสพติดการทรงเจ้าเข้าผีมากเกินไป ก็จะเกิดอันตรายตามมาได้เช่นเดียวกัน

---

 

Films seen in the 8th week of the year 2024

 

19-25 FEB 2024

 

In preferential order

 

1.DETECTIVE CONAN: THE PHANTOM OF BAKER STREET (2002, Kenji Kodama, Japan, animation, A+30)

 

2.THE HOLDOVERS (2023, Alexander Payne, A+30)

 

3.KOMADA – A WHISKY FAMILY (2023, Masayuki Yoshihara, Japan, animation, A+30)

 

4.POOR THINGS (2023, Yorgos Lanthimos, Ireland/UK, A+30)

 

5.MOSCOW MISSION (2023, Herman Yau, China/Russia, A+30)

 

6.FIFI (2022, Jeanne Aslan, Paul Saintillan, France, A+30)

 

7.TURNING RED (2022, Domee Shi, USA/Canada, animation, A+30)

 

8.QUEEN ROCK MONTREAL (2024, Saul Swimmer, UK/USA, concert documentary, shot in Canada in 1981, IMAX, A+30)

 

9.CINDY SHERMAN (1988, Michel Auder, video installation, 42min, A+30)

10.MOBILE SUIT GUNDAM SEED FREEDOM (2024, Mitsuo Fukuda, Japan, animation, A+30)

 

11.JUNKYARD DOGS (2022, Jean-Baptiste Durand, France, A+30)

 

12.ARGYLLE (2024, Matthew Vaughn, UK/USA, A+30)

 

13.BAGHEAD (2023, Alberto Corredor, Germany/UK, horror, A+25)

 

14.ROB N ROLL (2024, Albert Kai-kwong Mak, China/Hong Kong, A+20)

 

15.KITBULL (2019, Rosana Sullivan, short animation, A+15)

 

16.FLORENCE (1979, Michel Auder, video installation, A+)

 

สรุปว่า ใน 8 สัปดาห์แรกของปีนี้ เราดูหนังไปแล้ว 150 + 16 = 166 เรื่อง

Tuesday, March 26, 2024

Films seen in the 7th week of the year 2024

 

Films seen in the 7th week of the year 2024

 

12-18 FEB 2024

(หนังสั้นไทยที่เราไม่รู้ปีฉายครั้งแรกของมัน เราจะใส่เป็นปี 2024 ไว้ก่อนนะ ถ้าหากใครรู้ปีฉายครั้งแรกของหนังเรื่องไหน ก็มา comment บอกได้จ้ะ)

 

1.MOUNTAIN PEOPLE คนภูเขา (1979, Vichit Kounavudhi, A+30)

 

2.DOUBLE BLIND (1992, Sophie Calle, Greg Shephard, USA, 76MIN, A+30)

 

3.SONGS OF EARTH (2023, Margreth Olin, Norway, documentary, A+30)

 

4.A MAN (2022, Kei Ishikawa, Japan, A+30)

 

5.กังวานไพร VIBRATING THROUGH THE FOREST (1954, S. Asanajinda, A+30)

 

6.สามเมษายน THE THIRD OF APRIL (2021, Anant Kasetsinsombut, documentary, 39min, A+30)

 

7.THE GOLDFINGER (2023, Felix Chong, Hong Kong/China, A+30)

 

รัก Felix Chong มาก ๆ รู้สึกว่าเขา wavelength ค่อนข้างตรงกับเรา เพราะถ้าหากเทียบกับหนังจีนที่ออกมาไล่เลี่ยกันอย่าง HIDDEN BLADE (2023, Er Cheng) กับ WHERE THE WIND BLOWS (2022, Philip Yung) แล้ว เรารู้สึกว่าหนังสองเรื่องนั้น “มีการปรุงรสที่หนักมือเกินไป” สำหรับเราน่ะ แต่ THE GOLDFINGER ไม่ “รสจัดเกินไป” สำหรับเรา

 

แต่ก็รู้สึกเหมือนหนังยังไปไม่สุดนะ ซึ่งไม่ใช่ในแง่รสชาติ แต่อาจจะเป็นเพราะความที่มันสร้างจากเรื่องจริง ก็เลยเหมือนตัวเนื้อเรื่องมันมีอะไรที่ขาด ๆ ไปอยู่

 

8.DIVERTIMENTO (2022, Marie-Castille Mention-Schaar, France, A+30)

 

9.LONELINESS -- PET SHOP BOYS (2024, Alesdair McLellan, music video, A+30)

https://www.youtube.com/watch?v=dUVfoybVqIg

 

10.โลกขอฟ้อง “มนุษย์” WHEN THE EARTH SUES “HUMAN” (2024, Khemmarat Wongchanthorn, short film, A+30)

 

11.WHITE SHADOW (2024, Rahat Boonwipas, short film, A+30)

 

12.PASSION – Ple Irin (2024, Ple Irin, music video, CULT CLASSIC)

https://www.youtube.com/watch?v=0m-OAn4LfQU

 

13.MONDAYS: SEE YOU ‘THIS’ WEEK! (2022, Ryo Takebayashi, Japan, A+25)

 

14.CONCEIVING OUR FUTURE (2023, Annie Pancak Vogt, USA, short documentary, A+25)

 

15.THE PRESSURE เรียนเจียนตาย (2023, Chanon Boonprasit, 19min, A+25)

 

16.FATHER OF THE MILKY WAY RAILROAD (2023, Izuru Narushima, Japan, A+15)

 

หนังเรื่องนี้พูดถึง Kenji Miyazawa เหมือนกับหนังเรื่อง NIGHT TRAIN TO THE STARS (1997, Kazuki Omori) ที่เคยมาฉายที่ Japan Foundation เป็นประจำ ซึ่งเราก็เคยดู NIGHT TRAIN TO THE STARS ไปแล้วรอบนึง ถ้าหากจำไม่ผิด หนังสองเรื่องนี้แตกต่างกันตรงที่ FATHER OF THE MILKY WAY RAILROAD ให้น้ำหนักกับตัวละครพ่อของ Kenji มากกว่าหนังเรื่อง NIGHT TRAIN TO THE STARS

 

17.GHOST ANULAK ผีอนุลักษณ์ (2024, Puwarit Sirila, short film, A+15)

 

18.DOOMSDAY (2024, Piraya Chiranakorn, short animation, A+)

 

19.CHANGE? (ตรวน) (2024, Krimuk Luangtong, short film, A+)

 

20.DON’T BE A TRASH อย่าเป็นขยะ (2024, Sasipim Hemsathapat, Ruixin Mao, short animation, A)

 

21.เพียงวันละนิด JUST A LITTLE EVERY DAY (2024, Pimporn Jitsang, short film, A-)

 

22.SILENT LOVE (2024, Eiji Uchida, Japan, A-)

ไม่สามารถทนความโง่ของตัวละครในหนังเรื่องนี้ได้อีกต่อไป 555

 

23.AND YET, YOU ARE SO SWEET (2023, Takehiko Shinjo, Japan, B+  )

 

สรุปว่าใน 7 สัปดาห์แรกของปี เราดูหนังไปแล้ว 127 + 23 = 150 เรื่อง

Films seen in the sixth week of the year 2024

 

เมื่อกี้เราแชร์โพสท์เกี่ยวกับหนังเรื่อง “เหยื่อ” ไป ก็เลยจะเสริมว่า ไม่ใช่แต่ประเทศไทยเท่านั้นที่เชื่อกันในทศวรรษ 1980 ว่า "การแพร่หลายของวิดีโอเทป" จะกระตุ้นให้วัยรุ่นก่ออาชญากรรมรุนแรงตามมา  แต่เราคิดว่าน่าจะเป็นทั่วโลกเลยแหละที่หวาดกลัวกับประเด็นนี้ในทศวรรษ 1980 เพราะเราเคยดูหนังสวีเดนเรื่อง THE KING OF KUNGSAN (1987, Staffan Hildebrand, Sweden, A+30) ที่พูดถึงประเด็นนี้เหมือนกับหนังเรื่อง “เหยื่อ” เช่นกัน

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้ได้ในลิงค์นี้นะ
https://www.lecinemaclub.com/archives/stockholmsnatt/

 

Amid the proliferation of stereos and VCRs in the 1980s, Sweden’s youth culture was taken with The Karate Kid, horror movies, and hip-hop, ushering a new wave of counter-culture and youth rebellion. This also led to moral panic over videovåld (“video violence”), Sweden’s own version of the UK “Video Nasties,” which elevated movies by homegrown exploitation filmmakers like Mats Helge Olsson to must-see status. A notorious episode of social debate program Studio S established the pervasive belief that the VCR was responsible for cultivating a new league of violent degenerates. And just as they swept midwestern American mini-malls, taekwondo and kickboxing made the Swedish juvenile offenders’ feet their weapons of choice.

 -----------------

Films seen in the sixth week of the year 2024

5 -- 11 Feb 2024

 

Film seen for the first time

IN ROUGHLY PREFERENTIAL ORDER

 

(หนังที่เราไม่รู้ว่าออกฉายครั้งแรกเมื่อไหร่ เราจะใส่ปีเป็น 2024 ไว้ก่อนนะ 555 ถ้าใครรู้ว่าหนังเรื่องไหนออกฉายครั้งแรกเมื่อไหร่ ก็มา comment ไว้ได้จ้ะ)

 

1.VOYAGE TO THE CENTER OF THE PHONE LINES (1993, Michel Auder, video installation, 52min, A+30)

 

2.EVIL DOES NOT EXIST (2023, Ryusuke Hamaguchi, Japan, A+30)

 

3.RIVER (2023, Junta Yamaguchi, Japan, A+30)

 

4.LET’S ANALYZE THE PHOTOS FROM THE “OCTOBER 6” EVENT ชวนอ่านภาพ 6 ตุลา (2022, Chulayarnnon Siriphol, short documentary, A+30)

 

ชอบมาก ๆ นึกถึง BLOW-UP (1966, Michelangelo Antonioni), I…FOR ICARUS (1979, Henri Verneuil, France) และละครทีวีฮ่องกงเรื่อง “การเคลื่อนไหวของเจ้าแม่หนี่ฮวา” หรือ “นักข่าวหัวเห็ด” หรือ NEWARK FILE (1981) ที่นำเอาภาพถ่ายในเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง มา blow up และวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ของภาพอย่างละเอียด

 

5.BABY ASSASSINS (2021, Hugo Sakamoto, Japan, A+30)

 

6.BABY ASSASSINS 2 BABIES (2023, Hugo Sakamoto, Japan, A+30)

 

7.BLUE GIANT (2023, Yuzuru Tachikawa, Japan, animation, A+30)

 

8.MY IMAGINARY COUNTRY (2022, Patricio Guzmán, Chile, documentary, A+30)

 

9.VIA DOLOROSA (2021, Oraib Toukan, Palestine, 21min, A+30)

 

10.DAMNERN ดำเนิน (2023, Paramee Kampeng ปารมี ขำเพ็ง, short documentary, A+30)

 

11.WE MADE A BEAUTIFUL BOUQUET (2021, Nobuhiro Doi, Japan, A+30)

 

12.REBELLIOUS CHILD วัยกบฏ (2024, Jakkrapan Sriwichai, short documentary, A+30)

 

เหมือนเราเติบโตมากับหนังสือเรียนในวัยเด็กที่ปลูกฝังให้เรามองกบฏชาวเงี้ยวในจังหวัดแพร่ด้วยความรู้สึกหวาดกลัวและสยดสยอง เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ ที่มีส่วนช่วยให้เราหลุดพ้นจากการถูกครอบงำด้วยข้อมูลที่ไม่รอบด้าน หรือข้อมูลที่มาจากฝั่งเดียว

 

13.FROM DUST TILL DUST (2023, Tanakit Kitsanayunyong, short documentary, A+30)

 

ครึ่งหลังของหนังทำให้นึกถึง MYSTERIOUS OBJECT AT NOON (2000, Apichatpong Weerasethakul) ซึ่งจริง ๆ แล้วเราว่าครึ่งหลังของหนังอาจจะไม่ได้ทรงพลังมากนัก หรืออาจจะไม่ได้เสริมส่งพลังกับช่วงครึ่งแรกของหนังมากนัก แต่ครึ่งหลังของหนังมันทำให้หนังเรื่องนี้ unique ดี คือถ้าหากเป็นหนังสารคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป มันก็คงจะมีเพียงแค่ครึ่งแรกของหนังเรื่องนี้ ที่เป็นสารคดีที่นำเสนอประเด็นอย่างตรงไปตรงมา แต่พอหนังเรื่องนี้มีครึ่งหลัง ที่เปิดโอกาสให้ subjects แต่ละคนได้ใช้จินตนาการของตนเองด้วย มันก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้มีความแปลกแตกต่างจากหนังสารคดีสิ่งแวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป

 

14.1946 BOAT PEOPLE (2023, Theerayut Weerakham, short documentary, A+30)

 

15.GOLD KINGDOM AND WATER KINGDOM (2023, Kotono Watanabe, Japan, animation, A+30)

 

16.LOST IN MEKONG (2023, Jessada Khimsook, short documentary, A+30)

 

17.6 x 4 HOMECLASS (2024, Kittikhun Seniwong Na Ayutthaya, short documentary, A+30)

 

18.THAT DAY, THAT YEAR (2023, Jirat Jongjirattikal จิรัฏฐ์ จงจิรัฐิติกาล, short documentary, A+30)

https://www.youtube.com/watch?v=4XjwJvRl67E

 

19.เรื่องเล่า...กินได้ ตอน เมนูอาข่า THE TALE YOU CAN EAT: EPISODE – AKHA MENU (2023, Chaweng Chaiyawan, short documentary, A+30)

 

20.112 NEWS FROM HEAVEN (2023, Vichart Somkaew, short documentary, A+30)

 

21.THEIR LIGHT ใต้แสงเทียม (2024, Worrarin Prachumchai, Buariyate Eamkamol วรรินทร์ ประชุมชัย, บัวริเยท เอี่ยมกมล, short documentary, A+30)

 

22.FLOATING ON A MOMENT -- BETH GIBBONS (2024, Tony Oursler, music video, A+30)

 

23.A MOTHER’S TOUCH (2022, Junpei Matsumoto, Japan, A+30)

 

24.HEADS OF TOWN (2009, Michel Auder, video installation, 11min, A+30)

 

25.MEKONG: BEYOND THE RIVER (2024, Thaniya Saikam ฐานิยา ไทรคำ, short documentary, A+30)

 

26.MONOLITH -- TWIN TRIBES (2023, Sultan Mars, music video, A+30)

 

27.THE LINES THAT DEFINE ME (2022, Norihiro Koizumi, Japan, A+25)

 

28.PATTAYA HEAT (2024, Yang Shupeng, Thailand, A+)

 

 

Films seen for the second time or third time

(ลำดับความชอบไม่ได้ต่อเนื่องมาจากด้านบนนะ 555)

 

29.L’ESSENTIAL (2023, Premwong Rattanadilok Na Phuket, short film, third viewing, A+30)

 

30.LOST, AND LIFE GOES ON เลือน แต่ไม่ลืม (2022, Sumeth Suwanneth, short documentary, A+30)

 

31.SURF YOUR SOUL (2022, Vitchulada Yenjit, short documentary, A+30)

 

32.MOUNTAIN OF TRASH (2020, Primrin Puarat, short documentary, A+30)

 

33.THE ANNOUNCED TRAGEDY จงสวัสดิ์ (2023, Thanut Rujitanont, short animation, A+30)

 

34.INTERNATIONAL FRIENDSHIP (2023, Kanyarat Theerakrittayakorn, short documentary, A+30)

 

สรุปว่า ใน 6 สัปดาห์แรกของปี เราดูหนังไปแล้ว 93 + 34 = 127 เรื่อง

 

Monday, March 25, 2024

ONE OF MY MOST FAVORITE SONGS OF ALL TIME

 

“อยากมีใครสักคน

หมั่นดูแลคอยปลอบขวัญ

ทุกวันเอาใจไม่เหินห่าง

รู้ดีว่าฝันนั้นไกลสุดทาง

ความหวังยังห่างไกลมืดมน”

 

ป่วยเป็นคออักเสบมานานหลายวันแล้ว (แต่ตอนนี้อาการดีขึ้นแล้ว) ช่วงนี้เลยฟังแต่เพลงประกอบละครเรื่อง “ระบำไฟ” (1988, สุประวัติ ปัทมสูต) วนไปค่ะ เป็นเพลงที่ประพันธ์คำร้องโดยคุณสุวนัย สอนคำแก้ว และทำนองโดยคุณวิรัช อยู่ถาวร และเป็นเพลงที่ติดอยู่ในใจหรืออยู่ในหัวมานาน 36 ปีแล้ว เมื่อไหร่ที่รู้สึกป่วย ๆ แย่ ๆ ก็จะนึกถึงเพลงนี้ ต้องกราบคนประพันธ์เพลงนี้จริง ๆ ที่ทำให้เพลงมันติดอยู่ในใจเรามาได้นานขนาดนี้

Sunday, March 24, 2024

THE FIRST KISS

 

COMPTON’S ’22 (2023, Drew De Pinto, USA, short documentary, queer film, A+30)

https://www.youtube.com/watch?v=vng9TOsCiQs&t=234s

 

LITTLE ONE (ILI ILI) (2024, Clister Santos, Philippines, short animation, queer film, A+30)

 

เหมือนหนังพยายามทำซึ้งมากไปหน่อย แต่ก็ให้อภัยได้

https://www.youtube.com/watch?v=WKLPlwefvOA&t=5s

 

THE FIRST KISS (2023, Miguel Lafuente, Spain, short film, queer film, A+30)

 

งดงาม

https://www.youtube.com/watch?v=O_59ZhnlDmM&t=6s

 

Friday, March 22, 2024

THE WOMAN IN YELLOW

 

One of my most favorite characters of all time คือ “แม่นางชุดเหลือง” ใน “ดาบมังกรหยก” ของกิมย้ง นี่แหละ เพิ่งรู้ว่ามีคนไทยทำคลิปพูดถึงตัวละครตัวนี้อยู่หลายคลิปด้วยกัน งดงามที่สุด ชอบคลิปนี้จาก channel Yodyut มาก ๆ ที่รวมฉากของ “แม่นางชุดเหลือง” จาก “ดาบมังกรหยก” ตั้งแต่เวอร์ชั่นปี 1986, 2000, 2003, 2009 มาจนถึง 2019 และมีการวิเคราะห์ timeline อย่างละเอียดว่า ตัวละครตัวนี้เป็นใครกันแน่

https://www.youtube.com/watch?v=uk_30CALVR4

Thursday, March 21, 2024

SOGO

 

หนึ่งในสถานที่ที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อชีวิต cinephile ของเรา ก็คือ “ร้านแมคโดนัลด์ ห้าง SOGO” เพราะว่าในทศวรรษ 2000-2010 นั้น เทศกาลภาพยนตร์ต่าง ๆ ชอบมาจัดแถว ๆ ห้าง Central World และ Paragon และพอเทศกาลภาพยนตร์ชอบมาจัดแถว ๆ นั้น โดยเฉพาะที่ Central World เรากับเพื่อน ๆ cinephiles ก็เลยมักจะมานั่งแดกอาหารมื้อดึกที่ร้านแมคโดนัลด์ ห้าง SOGO เป็นประจำ เพราะว่าร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ มันมักจะปิดตอน 3 ทุ่ม แต่หนังรอบสุดท้ายในเทศกาลภาพยนตร์มักจะเลิกราว ๆ 4 ทุ่มกว่า ๆ เพราะฉะนั้นพวกเราพอดูหนังรอบสุดท้ายเสร็จท่ามกลางความรู้สึกหิวโฮก ก็เลยมักจะมานั่งเม้าท์มอยกันที่ร้านแมคโดนัลด์สาขานี้ในช่วงเวลาราว 22.00-23.45 น. ก่อนจะรีบขึ้นรถไฟฟ้าให้ทันขบวนสุดท้ายก่อนเที่ยงคืน เพราะฉะนั้นร้านแมคโดนัลด์สาขานี้ก็เลยเป็นร้านที่เต็มไปด้วยความทรงจำที่ดีงามมากมายสำหรับเรา

 

แต่ร้านนี้ก็ปิดไปในเดือนมิ.ย. 2022 และวันนี้เรามีโอกาสเดินผ่านที่ตั้งร้านนี้อีกครั้ง ก็พบว่าห้าง SOGO/อัมรินทร์พลาซ่า ได้เปลี่ยนเป็นห้าง GAYSORN AMARIN ไปแล้ว ส่วนบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของร้านแมคโดนัลด์ ก็เหมือนยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอยู่ เราก็เลยไม่รู้ว่าบริเวณตรงนั้นจะกลายเป็นอะไร ส่วนบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของร้าน STARBUCKS สาขาอัมรินทร์พลาซ่า ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับร้านแมคโดนัลด์ในอดีต ก็กลายเป็น “ร้านกาแฟ LOUIS VUITTON” ไปแล้ว

 

ไม่รู้เหมือนกันว่า ร้านแมคโดนัลด์ตรงนั้นจะกลับมาอีกหรือเปล่า แต่เรารู้สึกราวกับว่า “สถานที่แห่งความทรงจำอันดีงามมากมายในอดีต” อาจจะเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างไม่หวนคืนมา แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะความเปลี่ยนแปลงแบบนี้มันเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับชีวิตเรา

 

ภาพร้านแมคโดนัลด์ สาขา SOGO มาจากเพจ 77PPP

https://web.facebook.com/photo?fbid=457551294353045&set=a.456325961142245&locale=it_IT

 

 --------

FUFU IN PARADISE (2024, Vijchika Udomsrianan, video installation, animation, 16min, A+30)

 

ดูที่ KICHGallery

 

ชอบงานจิตรกรรมนี้ในนิทรรศการ FUFU IN PARADISE ของ Vijchika Udomsrianan ที่ KICHgallery มาก ๆ ดูแล้วนึกถึงทั้ง “จิตรกรรมฝาผนังตามวัด” และหนังเรื่อง THE ZONE OF INTEREST

Wednesday, March 20, 2024

TIMELINE OF RUSSIAN HISTORY IN FILMS

 ดู หอแต๋วแตก แหกสัปะหยด HOR TAEW TAK THE FINALE (2024, Poj Arnon, A+) แล้วสงสัยว่า ใครรับบทเป็น jailbait  ในหนังเรื่องนี้คะ


---
บทกวี THE LADY OF SHALOTT  นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจต่องานจิตรกรรมแล้ว ยังเป็นแรงบันดาลใจต่องานดนตรี เพลง THE LADY OF SHALOTT (1991) ของ Loreena McKennitt ที่ไพเราะเพราะพริ้งด้วยนะ และเป็นที่มาของชื่อนิยาย THE MIRROR CRACK'D FROM SIDE TO SIDE ของ Agatha Christie ด้วย
---
YODHA (2024, Sagar Ambre, Pushkar Ojha, India, A+)

ดูที่ไอคอนสยาม

1.นี่ขนาดเราดูหนังอินเดียแค่สัปดาห์ละ 1 เรื่อง เรายังรู้สึกหลอนแล้วว่า อินเดียกำลังถูกโจมตีด้วยผู้ก่อการร้ายชาวปากีสถานทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 กลุ่มเป็นอย่างน้อย แล้วคนอินเดียที่เขาดูหนังเมนสตรีมขวาจัดของอินเดียสัปดาห์ละหลาย ๆ เรื่องนี่ เขาใช้ชีวิตอยู่กันอย่างไร 555

2.จริง ๆ แล้วหนังก็สนุกใช้ได้ และยังดีที่มันไม่ขวาจัดคลั่งชาติคลั่งศาสนาจนทำให้เรารู้สึกขยะแขยง แต่โดยรวมแล้วมันก็เป็นหนังสูตรสำเร็จเมนสตรีมของอินเดีย ที่มี "ผู้ก่อการร้ายชาวปากีสถาน" เหมือนหนังอินเดียขวาจัดอีกหลายสิบเรื่องที่เราเคยดูมาน่ะ และหนังเรื่องนี้แถม "ผู้ก่อการร้ายชาวบังคลาเทศ" มาให้อีกด้วย 555

3. เนื่องจากเบื่อความขวาจัดของหนังแนวนี้ เราก็เลยให้หนังเรื่องนี้แค่ A+ แทนที่จะเป็น A+15
---
SA (2024, Tanatchai Bandasak, video installation, 14min, A+30)

SERIOUS SPOILERS ALERT เตือนแล้วนะ
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1.คิดว่าศิลปินคงสร้างงานนี้ด้วยจุดประสงค์บางอย่าง และมันคงมีความหมายบางอย่างในการติดตั้งวิดีโอนี้ใน "ห้องสมุด" โดยวิดีโอนี้เหมือนจับภาพสิ่งที่ดูคล้ายปากถ้ำ ที่มีใยแมงมุมขนาดใหญ่มาขวางกั้นทางเข้าอยู่ด้านหน้า ใยแมงมุมแกว่งไกวไปตามสายลม และเราไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ข้างในถ้ำนั้น สภาพแวดล้อมตรงรอบ ๆ ใยแมงมุมก็เต็มไปด้วยพืชประเภทมอสหรือตะไคร่มั้ง เราไม่แน่ใจ

2.ใจหนึ่งก็แอบนึกไปถึง "world wide web" เพราะว่า

2.1 สิ่งที่ปรากฏในวิดีโอคือ image ของ web

2.2 วิดีโอถูกนำเสนอในจอคอมพิวเตอร์ ในห้องสมุด ซึ่งปกติแล้วเป็นที่ตั้งของจอคอมสำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต

2.3 internet อาจจะเรียกได้ว่าเป็น a new cave เหมือนกับชื่อ exhibition นี้ในรูปแบบหนึ่ง เพราะการท่องเน็ตก็เหมือนการเดินเข้าสู่ปากถ้ำที่อาจจะมีอะไรทั้งดีและร้ายรอเราอยู่ข้างใน

3.แต่เราไม่รู้จุดประสงค์ที่แท้จริงของตัววิดีโอหรือตัวศิลปินหรอก 55555 เราแค่จะบันทึกความทรงจำไว้ว่า เราดู video นี้ด้วยความรู้สึกลุ้นระทึกหัวใจจะวายราวกับว่า มันเป็นหนัง horror หรือ thriller  ซึ่งตัวศิลปินคงไม่ได้ตั้งใจ 555

คือในวิดีโอที่นำเสนอภาพใยแมงมุมขนาดใหญ่มากนี้ มันมีมดหรือแมลงอะไรสักอย่างราว 2-3 ตัว เดินไปเดินมาตามโขดหินรอบ ๆ ใยแมงมุมน่ะ มีมดราว 1-2 ตัว เดินอยู่แถว ๆ โขดหินด้านล่างใยแมงมุม และมีมดอีก 1 ตัว เดินพล่านไปมาอยู่ตรงโขดหินด้านบนของใยแมงมุม และในช่วงนึง ก็เหมือนมีผีเสื้อตัวเล็ก ๆ หรือแมลงอะไรสักอย่าง บินผ่านหน้าจอแป๊บนึงด้วย

เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูวิดีโอนี้ เราก็เลยลุ้นสุดขีดตลอดเวลาว่า มดที่มันเดินพล่าน ๆ อยู่นี่ มันจะเดินมาติดใยแมงมุม แล้วแมงมุมจะโผล่ออกมาแดกมันไหม หรือจะมีผีเสื้อบินมาติดใยแมงมุมหรือเปล่า

และในขณะที่เราลุ้นระทึกว่า มดที่เดินพล่านไปพล่านมา 2-3 ตัวในจอ จะเดินมาติดใยแมงมุม และจะนำไปสู่ความตายของมันไหม เราก็ร้องวี้ดออกมาเมื่อเห็นมดตัวนึง เหมือนเดินไต่ขึ้นไปบนใยแมงมุมแบบสบายบรื๋ออยู่แป๊บนึง แล้วก็กลับลงมาเดินร่านไปมาตรงโขดหิน เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

เราก็เลยสงสัยมาก ๆ ว่า ทำไมมันเป็นเช่นนั้น คือตอนที่เรานั่งดูวิดีโอนี้ เรานึกว่า ใยแมงมุมนั้นมันอาจจะเก่าแก่มาก จนหมดความเหนียวไปแล้ว มันเลยทำอะไรมดไม่ได้

แต่พอเราดูวิดีโอนี้เสร็จ เราก็มา search ข้อมูลดูในเน็ต เพื่อดูว่ามดมันมีฤทธิ์ต้านใยแมงมุมได้หรือไม่ แล้วเราก็ร้องกรี๊ดสุดเสียง เมื่อเราพบว่า ในโลกนี้มันมีสิ่งที่เรียกว่า "แมงมุมมด" อยู่ด้วย คือมันเป็น "แมงมุมที่ปลอมตัวเป็นมด" คือดูรูปลักษณ์ภายนอกมันเหมือนมด แต่ที่จริงแล้วมันเป็นแมงมุม กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราเห็นใน video นี้ อาจจะไม่ใช่มดก็ได้ แต่อาจจะเป็น "แมงมุมมด" เรานึกว่ามันเป็นเหยื่อ แต่จริง ๆ แล้วมันอาจจะเป็น hunter เราก็อุตส่าห์ลุ้นใจหายใจคว่ำซะแทบตายตลอด 13-14 นาทีของวิดีโอ ว่ามันจะติดใยแมงมุมตายหรือเปล่า

แต่เราไม่ใช่นักกีฏวิทยานะ เพราะฉะนั้นเราก็ไม่แน่ใจหรอกว่า แมลงราว 2-3 ตัวที่เดินร่านไปมาใน video นี้ มันคือสัตว์อะไรกันแน่ ถ้าใครรู้ก็มา  comment ได้นะ
---
FILM WISH LIST: THE TRAGEDY OF W (1984, Shinichiro Sawai)

ตัวละครพระเอกใน EGOIST (2022, Daishi Matsunaga, Japan, A+30) บอกว่า เขาชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ และเหมือนหนังเรื่องนี้ช่วยให้ Hiroko Yakushimaru ได้รับการยอมรับในฐานะนักแสดงที่มากความสามารถอย่างแท้จริง

ซึ่งหนังเรื่อง THE TRAGEDY OF W นี้ เคยมาฉายในรูปแบบฟิล์ม 16 mm ที่ Japan Foundation ถนนอโศก หลายรอบมาก แต่เรายังไม่เคยได้ดูเลย เสียดายมาก ๆ
---
FILM WISH LIST: HEDDA 1975, Trevor Nunn, UK)

พอตัวละครใน MAY DECEMBER (2023, Todd Haynes, UK, A+30) พูดถึง Hedda Gabler ว่าเป็นตัวละครหญิงที่น่าสนใจสุดขีด ในระดับเดียวกับนางมีเดียในตำนานกรีก เราก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า เรายังไม่เคยดูหนังที่สร้างจากบทละครเวที  HEDDA GABLER ของ Henrik Ibsen มาก่อนเลย

อยากดู HEDDA (1975) มาก ๆ เพราะ Glenda Jackson ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาดารานำหญิงจากหนังเรื่องนี้

เหมือนเราเคยดูหนังที่สร้างจากบทประพันธ์ของ Henrik Ibsen แค่เรื่องเดียวมั้ง ซึ่งก็คือ NORA HELMER (1974, Rainer Werner Fassbinder, West Germany, A+30)

ส่วน AN ENEMY OF THE PEOPLE (1989, Satyajit Ray, India) กับ SARA (1993, Dariush Mehrjui, Iran) ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ  Henrik Ibsen นั้น เรายังไม่ได้ดู แต่ก็อยากดูมาก ๆ เหมือนกัน
---
แดก "ข้าวแช่" เพื่อบูชาหนังเรื่อง "หม่อม" THE ELITE OF DEVILS และดาราหนุ่ม ๆ ใน "หม่อม"
---
ฉันรักเขา Giacomo Ferrara from  GHIACCIO (2022, Alessio De Leonardis, Fabrizio Moro, Italy, A+25)
---
ฉันรักเขา Gabriel Garko from  THE IGNORANT FAIRIES (2001, Ferzan Ozpetek, Italy, A+30)
---
Favorite Character: เจ้าแม่แห่งเทือกเขาพนมกุเลน ใน "ฝังครรภ์ปีศาจ" THE RITUAL BLACK NUN (2023, Semsak Visal, Cambodia, A+)

ชอบตัวละครตัวนี้อย่างสุดขีด แต่เสียดายที่เราหารูปตัวละครตัวนี้ไม่ได้เลย เราเลยใช้รูปประกอบเป็น text เกี่ยวกับตำนานความศักดิ์สิทธิ์ของเทือกเขาพนมกุเลนแทน

แต่ถึงแม้เราจะชอบตัวละครตัวนี้อย่างสุดขีด หนังเรื่องนี้ก็ไม่ดีเท่าไหร่นะ 555
---
รายงานผลประกอบการประจำวันอาทิตย์ที่ 10 March 2024

1. IMAGINARY ตุ๊กตาซาตาน (2024, Jeff Wadlow, A+30)

ดูที่ Seacon Square รอบ 11.30

ลูกหมีบอกว่า รักหนังเรื่องนี้ที่สุดเลย 55555

2. THE RITUAL BLACK NUN ฝังครรภ์ปีศาจ  (2023, Semsak Visal, Cambodia)

ดูที่ Seacon Square รอบ 14.00 ปรากฏว่า เราท้องเสีย เราเลยดูไม่จบ ต้องรีบวิ่งออกมาเข้าห้องน้ำตอนกลางเรื่อง

3. POLE PRINCESS THE MOVIE (2023, Hitomi Ezoe, Japan, animation, A+30)

ดูที่ Seacon รอบ 16.35

มันคือสูตรสำเร็จของ "หนังญี่ปุ่นแนว กีฬา/การแข่งขัน/การไต่เต้าไปสู่ความสำเร็จทางอาชีพ" มาก ๆ คือจุดนี้ไม่ได้แตกต่างไปจากหนังญี่ปุ่นแนวเดียวกันอีกราว 1000 เรื่องที่เราเคยดูมาก่อนหน้านี้ ซึ่งรวมถึง BLUE GIANT (2023, Yuzuru Tachikawa) และหนังชุด CHIHARAFUYU (2016-2018, Norihiro Koizumi) เพียงแต่หนังเรื่องนี้มันเปลี่ยนมาเป็น "pole dancing"  เท่านั้นเอง

แต่เราชอบ สูตรสำเร็จแนวนี้นะ ก็เลยรับหนังเรื่องนี้ได้ 555

4.the exhibition REVEAL OF NEVERLAND by Kullathida Krajangkul on the 3rd floor of Seacon

5. The exhibition IN FRONT OF THE CAMERA -- IN THE PROCESS OF LOOKING by Kornkrit Jianpinidnan on the 3rd floor of Seacon

6. THE RITUAL BLACK NUN (2023, Semsak Visal, Cambodia,  A+)

ดูที่ Seacon  รอบ 1900

ตอนแรกกะว่าวันนี้เราจะดู โคนัน เป็นหนังเรื่องที่ 4 ของวัน แต่ปรากฏว่าการที่เราท้องเสียในระหว่างวัน  เลยส่งผลให้เราตัดสินใจดูหนังเขมรเรื่องนี้เป็นรอบที่สองในวันเดียวกัน ไม่งั้นมันจะค้างคาใจ เดี๋ยวนอนตายตาไม่หลับ 555

รู้สึกว่าช่วงสององก์แรกของหนังน่าเบื่อ ชอบในระดับประมาณ B+  แต่พอมีตัวละคร "เจ้าแม่แห่งเทือกเขาพนมกุเลน" ปรากฏตัวขึ้นมาในองก์สาม ระดับความชอบของเราก็พุ่งพรวดขึ้นมาในทันที แต่ก็พุ่งขึ้นมาได้เพียงในวงจำกัด เพราะเหมือนหนังยังใช้ประโยชน์จากคุณไสยเขมรได้น้อยเกินไป
---
IMAGINARY ตุ๊กตาซาตาน (2024, Jeff Wadlow, A+30)

1. ในที่สุดลูกหมีก็ได้ดูหนังเรื่องนี้แล้ว ลูกหมีบอกว่า รักหนังเรื่องนี้มาก ๆ เลย 55555

2.พอหนังบอกว่า เด็ก ๆ หลายคนมี "imaginary friend" ลูกหมีก็หันมาถามแม่หมีว่า "แล้วกะเทยอายุ 51 ปีแบบแม่หมีที่มี "imaginary husband" กับ "imaginary son" นี่ มีแบบนี้หลายคนไหมครับ หรือมีแต่เฉพาะกะเทยแก่ที่หาผัวไม่ได้แบบแม่หมี ส่วนเด็กคนอื่น ๆ พอเขาโตขึ้น เขาก็ได้มีผัวมีลูกที่เป็นคนจริง ๆ กันหมด ชีวิตแม่หมีนี่น่าสมเพชกว่านางเอกในหนังเรื่องนี้เสียอีกนะครับ" แล้วลูกหมีก็หัวเราะเอิ๊กอ๊ากชอบอกชอบใจที่ได้หลอกด่าแม่หมี ฮึ
---
มาเยือนซีคอนสแควร์เป็นครั้งแรกในรอบ 23 ปี กรี๊ดดดดดด ใช้เวลาเดินหาโรงหนังนานมาก 555

เราเคยมาเยือน Seacon Square ครั้งสุดท้ายในปี 2001 ตอนที่ EGV จัดการแข่งขัน MOVIE RALLY ซึ่งเราได้เข้ารอบ 2 แต่ผ่านไปไม่ถึงรอบ 9 คนสุดท้าย

จำได้ว่าในงานแข่งขันครั้งนั้น มีคุณกัลปพฤกษ์, อาจารย์ฮูก, คุณ Punya Pappayon และน้อง  Thitipat  ร่วมแข่งขันด้วย :-)
---
TIMELINE OF RUSSIAN HISTORY IN FILMS/TV SERIES

MONGOL (2007, Sergei Bodrov)

about Genghis Khan (1162-1227)

ALEXANDER NEVSKY (1938, Sergei Eisenstein)

Nevsky lived in 1221-1263.

ANDREI RUBLEV (1966, Andrei Tarkovsky, A+30)

Rublev lived in 1360-1430.

LAND OF LEGENDS (2022, Anton Megerdichev, 160min, A+30)

About Ivan III (1440-1505)

IVAN THE TERRIBLE (1944, Sergei Eisenstein)

Ivan lived in 1530-1584.

PETER THE GREAT (1986, Marvin J. Chomsky, Lawrence Schiller, A+30)

Peter lived in 1672-1725.

THE COLOR OF POMEGRANATES (1969, Sergei Parajanov, A+30)

About Sayat- Nova (1712-1795)

THE SCARLET EMPRESS (1934, Josef von Sternberg)

About Catherine the Great (1729-1796)

WAR AND PEACE (1956, King Vidor)
About 1812

TSCHAIKOVSKY'S WIFE (2022, Kirill Serebrennikov, A+30)

Tschaikovsky lived in 1840-1893.

FIDDLER ON THE ROOF (1971, Norman Jewison, A+30)

About early 20th century

RASPUTIN (1981, Elem Klimov, A+30)

Rasputin lived in1869-1916.

TIMELINE OF ROMAN EMPIRE
https://www.facebook.com/share/p/FapNYVgaGoNS4Tcm/?mibextid=oFDknk

TIMELINE OF CHINESE HISTORY
https://www.facebook.com/share/p/fqbL7Pjuy9PNEpmR/?mibextid=oFDknk

TIMELINE OF JAPANESE HISTORY
https://www.facebook.com/share/p/XuFiu9MUkApJhZ8D/?mibextid=oFDknk

TIMELINE OF FRENCH HISTORY
https://www.facebook.com/share/p/Ve3RuK4XTqtbMyLz/?mibextid=oFDknk

TIMELINE OF SOME COMMUNIST EVENTS
https://www.facebook.com/share/p/sracvJPHdkfSac8K/?mibextid=oFDknk

TIMELINE OF MIDDLE EAST VIOLENCE
https://www.facebook.com/share/p/4gRcVvhtTLxXXPho/?mibextid=oFDknk


---
ความเป็นกะเทยของดิฉัน และผลกระทบจากมันที่มีต่อการดู LAND OF LEGENDS (2022, Anton Megerdichev, Russia, 160min, A+30)

1.ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ ชอบความเหนือธรรมชาติของมัน ชอบตัวละครนางเอกอย่างสุดขีดด้วย ดูแล้วแอบนึกเล่น ๆ ว่า นี่แหละคือ "เทพนิยายแบบโหดสัสรัสเซีย"

2. ดูแล้วนึกถึงพวกหนังสู้รบอิงประวัติศาสตร์อย่าง BAJIRAO MASTANI (2015, Sanjay Leela Bhansali, India), RED CLIFF (2008, John Woo), THRONE OF BLOOD (1957, Akira Kurosawa, Japan)

3.เราว่าการที่เราเป็นกะเทย/เกย์มีส่วนสำคัญอย่างมากในการทำให้เราอินกับตัวละครนางเอกของ LAND OF LEGENDS ด้วยแหละ

คือเรานึกถึงที่เพื่อนคนนึงของเราเคยตั้งทฤษฎีว่า มีกะเทยบางคนที่อินกับนางเงือก SADE ในมิวสิควิดีโอ NO ORDINARY LOVE หรือนางเงือกในหนัง THE LITTLE MERMAID มาก ๆ เพราะว่า "นางเงือก" มี "ความเป็นมนุษย์ผู้หญิงครึ่งหนึ่ง" ส่วนอีกครึ่งหนึ่งไม่ใช่มนุษย์ผู้หญิง เพราะฉะนั้นกะเทยบางคนก็เลยอินกับจุดนี้

ซึ่งเราเองนั้น ไม่ได้อินกับ LITTLE MERMAID เลยแม้แต่นิดเดียว แต่ก็สังเกตว่า เพื่อนกะเทยบางคนอินกับตัวละครแนวนางเงือกมาก ๆ เราก็เลยคิดว่า ทฤษฎีนี้น่าจะเป็นจริง เพียงแต่กะเทยแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป และก็คงจะอินกับตัวละคร "ครึ่งเพศหญิง" ที่มีบุคลิกแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นถึงแม้เราไม่ได้อินกับ LITTLE MERMAIDเราก็อินกับนางเอกของ LAND OF LEGENDS มาก ๆ เพราะนางเอกของหนังเรื่องนี้ก็มีความ "ครึ่งเพศหญิง" เหมือนกัน แต่มีบุคลิกและเส้นทางชีวิตที่เข้าทางเรามากกว่า LITTLE MERMAID มาก ๆ

คือเราว่า ความแตกต่างสำคัญระหว่างนางเอกของ LITTLE MERMAID กับนางเอกของ LAND OF LEGENDS ที่ทำให้เราไม่อินกับตัวนึง แต่ไปอินกับอีกตัวนึงก็คือว่า

3.1 ใน LITTLE MERMAID นั้น "แม่มด" เป็นผู้ร้าย แต่ใน LAND OF LEGENDS นั้น นางเอกเป็น แม่มด และเราชอบแม่มด

3.2 ใน LITTLE MERMAID นั้น อุปสรรคขัดขวางความรักนางเอกคือ "แม่มด" แต่ใน LAND OF LEGENDS นั้น อุปสรรคขัดขวางความรัก คือ "ศาสนจักร" ซึ่งมันก็ตรงกับชีวิตเกย์/กะเทย อย่างเรามาก ๆ

3.3 เหมือนกะเทย/เกย์บางคน จะอินกับตัวละครครึ่งเพศหญิง ที่มี "เสน่ห์ดึงดูดผู้ชาย" หรือเน้นความน่ารัก อย่าง LITTLE MERMAID หรือนางเอกของ "โปเยโปโลเย" (ครึ่งผู้หญิง ครึ่งปีศาจ) แต่เราจะไม่อินกับตัวละครทำนองนี้มากนัก เราจะไปอินกับตัวละครแนวที่มีอิทธิฤทธิ์ตบตีมากกว่า เพราะฉะนั้น เราก็เลยอินกับนางเอกของ LAND OF LGENDS และ "โอม สู้แล้วอย่าห้าม" เพราะเรารู้สึกว่า นางเอกของ "โปเยโปโลเย" เธอมาเพื่อ "ทำให้ผู้ชายหลงรัก" เราก็เลยไม่อิน แต่นางเอกของ GOLDEN SWALLOW หรือ "โอม สู้แล้วอย่าห้าม" เธอ "มาเพื่อฆ่าศัตรู"  เราก็เลยอินกับเธอ

4.สรุปได้ว่า เราไม่อินกับตัวละครนางเอก "ครึ่งผู้หญิง" แบบใน LITTLE MERMAID, โปเยโปโลเย A CHINESE GHOST STORY (1987, Ching Siu-tung), CRANE (1988, Kon Ichikawa) ที่มันดูเน้นความอ่อนหวาน

แต่เราอินกับตัวละคร "ครึ่งผู้หญิง" ในเรื่องต่อไปนี้ ซึ่งเราว่า ความเป็นกะเทยของเรามีส่วนสำคัญที่ทำให้เราอินกับมัน 555

4.1 GOLDEN SWALLOW (1987, O Sing-Pui, Hong Kong)

4.2 นาคี (1988) version กาญจนา จินดาวัฒน์

4.3 PAINTED SKIN (2008, Gordon Chan, China/Hong Kong)

4.4 LAND OF LEGENDS
---
พอดู LAND OF LEGENDS (2022, Anton Megerdichev Russia, 160min, A+30) แล้วก็เลยทำให้ตระหนักว่า เราขาดความรู้เรื่องภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์รัสเซียอย่างรุนแรง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำหลังดูจบก็คือหาข้อมูลว่า เมือง Cherdyn, Perm, Kazan  และ Novgorod มันอยู่ตรงไหน
---
RIP AKIRA TORIYAMA

ตัวละครที่ชอบที่สุดของเขา ก็คือ Kinoko Sarada จากการ์ตูน DR. SLUMP (1980-1984)

เราไม่ได้อ่านการ์ตูนเรื่องนี้มานาน 40 ปีแล้ว แต่ยังจำได้เลยว่า Kinoko จะเก็บสิ่งที่ชอบที่สุดในอาหารแต่ละมื้อ ไว้กินทีหลังสุด แล้วมีครั้งนึงมี cherry cake วางไว้บนโต๊ะกินข้าว เธอก็เลยกินส่วนอื่น ๆ ของเค้กไปก่อน แล้วจะเก็บลูกเชอรี่ไว้กินทีหลังสุด แต่พ่อของเธอคิดว่าเธอไม่อยากกินลูกเชอรี่ พ่อของเธอเลยคว้าลูกเชอรี่ไปแดก เธอก็เลยด่ากับพ่ออย่างรุนแรง

อยากเห็น Kinoko ตบกับนางเอกของ ASARI-CHAN (1978-2014, Mayumi Muroyama) มาก ๆ
---
Favorite Actress: Elena Erbakova from LAND OF LEGENDS (2022, Anton Megerdichev, Russia, 160min, A+30)

หนังเข้าฉายแล้วในเครือ SF นะ เราดูแบบพูดภาษารัสเซียที่โรง SF TERMINAL 21  อินกับตัวละครนางเอกอย่างสุดขีดมาก ๆ
---
เพิ่งดู THE CEMETERY OF CINEMA (2023, Thierno Souleymane Diallo, France/Senegal/Guinea, documentary, 93min, A+30) ที่ Alliance วันนี้ กราบตีนของจริง สุดจะบรรยาย นึกว่าต้องปะทะกับ Kidlat Tahimik เท่านั้น กราบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ
---
สัปดาห์นี้มีฉาย CSI แค่วันศุกร์นะ ไม่มีฉายวันเสาร์อาทิตย์

ปรากฏว่า "ฉาก" ที่ติดอยู่ในหัวเรามากที่สุดจากหนังเรื่องนี้ คือ "ฉากนักเรียนหญิงสองคนปะทะกันอย่างรุนแรงในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในช่วงที่มีคดีสวรรคตในทศวรรษ 2490" คือหนังไม่ได้นำเสนอฉากดังกล่าวออกมาเป็นภาพให้เราเห็นนะ หนังเรื่องนี้เพียงแค่ให้คุณกังวาฬเล่าถึงเหตุการณ์นักเรียนหญิงสองคนปะทะกันอย่างรุนแรงในโรงเรียนเตรียมอุดมเมื่อราว 70 ปีก่อน แต่ปรากฏว่า "การเล่าถึง" เหตุการณ์นั้น มันไปกระตุ้นจินตนาการในหัวของเราอย่างรุนแรง หัวของเราเลยได้แต่จินตนาการ "ฉากนักเรียนหญิงสองคนปะทะกันอย่างรุนแรงในโรงเรียนเตรียมอุดมในทศวรรษ 2490" แล้วปรากฏว่าพอเราดูหนังเรื่องนี้เสร็จ เราก็ไปดู MEAN GIRLS (2024, Samantha Jayne, Arturo Perez Jr., A+15) ต่อ MEAN GIRLS ก็เลยจืดไปเลย เพราะหัวของเรายังคงมัวแต่จินตนาการฉากในโรงเรียนเตรียมอุดมในทศวรรษ 2490 อยู่

--
FOUNT (2020, Evrim Inci, Turkey, documentary, 4min, A+30)

ไม่เคยรู้มาก่อนว่าตุรกีมีปัญหาภัยแล้งขั้นรุนแรงด้วย
--
AVOCADO ON PANCAKES (2024, Chinanang Tamrongtanakijakarn, 9min, A+30)
---
RIP JACLYN JOSE (1963-2024)

เราเคยดูหนังที่เธอแสดงแค่ 8 เรื่อง ประทับใจกับการแสดงของเธอใน MA'ROSA กับ JESUS IS DEAD มาก ๆ

หนังของเธอที่เราเคยดู

1.FEAST (2022, Brillante Mendoza)

2.MA'ROSA (2016, Brillante Mendoza)

3.JESUS IS DEAD (2016, Victor Villanueva)

4.SERBIS (2008, Brillante Mendoza)

5.SLINGSHOT (2007, Brillante Mendoza)

6.DONSOL (2006, Adolfo Alux Jr.)

7.THE MASSEUR (2005, Brillante Mendoza)

8.MACHO DANCER (1988, Lino Brocka)
---
ฉันรักเขา Koray Candemir from THE IGNORANT FAIRIES (2001, Ferzan Ozpetek, Italy, A+30)
---
Favorite Actress: Margherita Buy from THE IGNORANT FAIRIES (2001, Ferzan Ozpetek, Italy, A+30), "ME, MYSELF & HER" (2015, Maria Sole Tognazzi, Italy, A+30), MY MOTHER (2015, Nanni Moretti, A+30), THE CAIMAN (2006, Nanni Moretti), LE FILS PREFERE (1994, Nicole Garcia, France)
---
ฉันรักเขา Thul Makara from แม่ณุน THE DARK MOTHER (2024, Kou Darachan, Cambodia, horror, A+30)
---
ฉันรักเขา Stefano Accorsi from THE IGNORANT FAIRIES (2001, Ferzan Ozpetek, Italy, A+30), THE LAST KISS (2001, Gabriele Muccino, Italy), CAN'T SAY NO (2009, Iliana Lolic, France), SHALL WE KISS? (2007, Emmanuel Mouret, France)
---